ครีมอาบน้ำผสมขมิ้น

ภาพที่ 1 ภาพด้านหน้าขวดบรรจุภัณฑ์ครีมอาบน้ำผสมขมิ้น บ้านท่าทราย
ที่มา: กฤติกา โสภาเธียร, 2557

1. ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับตัวผลิตภัณฑ์
    1.1 ชื่อผลิตภัณฑ์: ครีมอาบน้ำผสมขมิ้น
    1.2 ประเภท: สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร
    1.3 สถานะ: ของเหลว
    1.4 สีของผลิตภัณฑ์: เหลืองใส
    1.5 วัสดุหลัก: ขมิ้น
    1.6 วัสดุประกอบร่วมในตัวสินค้า/ส่วนผสม: ขมิ้นสด, น้ำสะอาด, หัวเชื้อครีมอาบน้ำ, หัวน้ำหอม
    1.7 สรรพคุณ: ถนอมผิวสวย เพิ่มความนุ่มเนียนผิว คงความชุ่มชื่นต่อผิว ผิวจะขาวเนียนและชุ่มชื่นตลอดวัน
    1.8 วิธีใช้: เทครีมสมุนไพรขมิ้นลงบนฝ่ามือ ลูบไล้ให้เกิดฟองครีม ให้ทั่วใบหน้าและผิวกาย แล้วล้างออก
    1.9 ผู้ผลิต: กลุ่มแม่บ้านท่าทราย
    1.10 ที่อยู่ผู้ผลิต: ที่ทำการกลุ่มแม่บ้านท่าทราย เลขที่ 169 หมู่ 1 ตำบลบางหลวง อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท รหัสไปรษณีย์ 17150
    1.11 เบอร์ติดต่อ: 056-407500, 056-401004, 081-8874569, 081-8872459
    1.12 รูปแบบการจำหน่าย:
            - จำหน่าย ณ ที่ทำการกลุ่มแม่บ้านท่าทราย
            - จำหน่ายร้านค้าทั่วไปภายในจังหวัดชัยนาท: ร้านค้า CEO ชัยนาท 3 สาขา คือ
              1. ข้างศาลากลางจังหวัดชัยนาท
              2. หน้าสวนนกชัยนาท
              3. ศูนย์บริการทางหลวง กิโลเมตรที่ 185
            - จำหน่ายตามสั่งซื้อทาง รสพ. และพัสดุไปรษณีย์
            - ออกร้านตามงานสำคัญต่างๆ ที่หน่วยงานราชการ/เอกชนจัดขึ้น
    1.13 ราคาจำหน่ายสินค้า/หน่วย:
            - ขายส่ง 40 บาท ณ ที่ทำการกลุ่มแม่บ้านท่าทราย
            - ขายปลีก 50 บาท ตามร้านค้าทั่วไปในจังหวัดชัยนาท

2. โครงสร้างหลักของตัวบรรจุภัณฑ์ที่ใช้
    2.1 ขนาด/มิติ: เส้นผ่าศูนย์กลาง 6.5 ซม. สูง 17.5 ซม.
    2.2 สีของบรรจุภัณฑ์: ขวดสีส้มอ่อน ฝาสีขาว
    2.3 น้ำหนัก/ปริมาตรสุทธิ: 280 มล.
    2.4 วิธีการ/เทคนิค/การบรรจุสินค้า: บรรจุในขวดสีส้มอ่อน
    2.5 การขึ้นรูปทรง: ทรงแบนสูง มีฝาเปิดทรงกลม
    2.6 ฟอนต์: JasmineUPC (โลโก้ชื่อผู้ผลิต) Angsana New (ข้อมูลสินค้า)
    2.7 ระบบการพิมพ์ที่ใช้: ซิลค์สกรีน
    2.8 สี/จำนวนสีที่พิมพ์: สีแดง พิมพ์สีเดียว

3. การออกแบบกราฟิก
    3.1 ภาพประกอบ: ไม่มี
    3.2 ข้อความ: บ้านท่าทราย ครีมอาบน้ำผสมขมิ้น
    3.3 โลโก้ชื่อสินค้า: ครีมอาบน้ำผสมขมิ้น
    3.4 โลโก้ชื่อผู้ผลิต: บ้านท่าทราย

4. ขั้นตอนและวัตถุดิบในการผลิต
    4.1 วัตถุดิบ/ส่วนผสมที่ใช้
          1. ขมิ้นสด 2 ขีด
          2. น้ำสะอาด 1 กิโลกรัม
          3. หัวเชื้อครีมอาบน้ำ 1 กิโลกรัม
          4. หัวน้ำหอม 1 ออนซ์
    4.2 กระบวนการผลิต
          1. ล้างขมิ้นให้สะอาด
          2. หั่นให้เป็นชิ้นเล็ก
          3. นำมาปั่นให้ละเอียด
          4. นำขมิ้น น้ำสะอาด ตามอัตราส่วนแล้วยกขึ้นตั้งไฟ เคี่ยวให้เหลือน้ำขมิ้น 1 ขีด
          5. ยกลงมากรองด้วยผ้าขาวบางทิ้งไว้ให้เย็น นำมาผสมกับหัวเชื้อครีมและหัวน้ำหอมแล้วคนให้เข้ากัน
          6. บรรจุขวด

5. การวิเคราะห์ข้อมูลผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ด้วยวิธีการสังเกตและรับรู้ทางการมอง
    (Product and Package Visual Analysis)


ภาพที่ 2 ภาพแสดงการศึกษาวิเคราะห์ส่วนประกอบของสินค้าและบรรจุภัณฑ์ทางการมองเห็น
ที่มา: กฤติกา โสภาเธียร กลุ่ม Dimension, 2557.

หมายเลข 1 คือ โครงสร้างของบรรจุภัณฑ์ ในที่นี้คือวัสดุขวดพลาสติก PE ทึบแสง
หมายเลข 2 คือ ฝาสำหรับเปิดปิด
หมายเลข 3 คือ โลโก้ชื่อผู้ผลิต
หมายเลข 4 คือ ข้อความ-กราฟิกอัตลักษณ์แสดงชื่อยี่ห้อสินค้า (Logotype)
หมายเลข 5 คือ ข้อความการบ่งชี้ชนิด-ประเภทสินค้า
หมายเลข 6 คือ ชื่อ/ประเภทของสินค้า
หมายเลข 7 คือ ข้อมูลสรรพคุณของสินค้า
หมายเลข 8 คือ ข้อมูลวิธีการใช้ของสินค้า
หมายเลข 9 คือ ข้อมูลที่อยู่ของผู้ผลิต
หมายเลข 10 คือ ปริมาตรสุทธิของสินค้า


ภาพที่ 3 ภาพด้านหน้าและด้านหลังของบรรจุภัณฑ์ครีมอาบน้ำผสมขมิ้น
ที่มา: กฤติกา โสภาเธียร, 2557.


ภาพที่ 4 ภาพถ่ายด้านบน-ล่างของครีมอาบน้ำผสมขมิ้น
ที่มา: กฤติกา โสภาเธียร, 2557.


ภาพที่ 5 ภาพฝาเปิด-ปิดขวดของบรรจุภัณฑ์ครีมอาบน้ำผสมขมิ้น
ที่มา: กฤติกา โสภาเธียร, 2557.


ภาพที่ 6 ภาพถ่ายตัวสินค้าด้านในเมื่อนำมาเท
ที่มา: กฤติกา โสภาเธียร กลุ่ม Dimension, 2557.

6. การวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง อุปสรรค และโอกาส (SWOT Analysis)
    ภาพที่ 7 ภาพการวิเคราะห์สินค้าบ้านท่าทรายด้วย SWOT Analysis
    ที่มา: กฤติกา โสภาเธียร, 2557.

    จุดอ่อน
    - รูปแบบบรรจุภัณฑ์ไม่สะดุดตาเท่าสินค้าแบรนด์ดังๆ ตามห้าง/ร้านทั่วไป
    - กลุ่มลูกค้ายังแคบไป เพราะเลือกเจาะเฉพาะกลุ่มลูกค้าประจำคือกลุ่มผู้สูงอายุ
    - ขาดความรู้ในด้านทักษะการออกแบบและผลิตสินค้าที่ทันสมัย
    - มีกำลังผลิตน้อย เนื่องจากไม่มีผู้สนับสนุน โครงการอยู่ได้ด้วยตัวเอง
   จุดแข็ง
   - ใช้วัตถุดิบสด/วัตถุดิบท้องถิ่นในการผลิต
   - มีราคาไม่แพงเมื่อเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ยี่ห้ออื่นในท้องตลาด
   - เป็นที่นิยมในหน่วยราชการต่างๆ เนื่องจากลูกค้าบอกกันปากต่อปากเมื่อมาศึกษาดูงาน
   - สินค้ามีคุณภาพมาตรฐาน ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้ากลุ่มผู้สูงอายุ
   - ผลิตภัณฑ์สามารถเปิด-ปิดได้ด้วยมือเดียว
   - ตราสัญลักษณ์เป็นที่คุ้นเคยในจังหวัด
  อุปสรรค
   - เกิดปัญหาอุทกภัยน้ำท่วมบ่อยครั้ง ส่งผลให้มีความเสียหาย/ขาดแคลนทางด้านวัตถุดิบที่ทำการปลูกในแหล่งพื้นที่ใกล้เคียงกัน จึงต้องทำการหาแหล่งวัตถุดิบจากจังหวัดอื่นมาใช้แทนเป็นช่วงๆ
   - ไม่สามารถพัฒนาเปลี่ยนแปลงข้อมูลบนตัวบรรจุภัณฑ์ได้มากนัก เพราะถูกจับตามองจากสาธารณสุขของจังหวัด ที่จะเข้ามาตรวจมาตรฐาน GMP ทุกๆ 3 เดือน เพื่อตรวจสอบมาตรฐานคุนภาพของสินค้าว่ามีการใช้สารถูกต้องตามกฎหมายหรือไม้ เนื่องจากกลุ่มแม่บ้านท่าทรายเป็นกลุ่มที่ใช้สารถูกต้องตามกฏหมายมากที่สุดในชัยนาท
  โอกาส
  - สามารถสร้างเครือข่ายกลุ่มลูกค้าได้
  - สามารถประยุกต์เป็นของฝาก เพื่อเพิ่มมูลค้าของสินค้าได้
  - ผลิตภัณฑ์เป็นสินค้าท้องถิ่น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว คุณภาพดี ได้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับในจังหวัดชัยนาท สามารถพัฒนารูปแบบสำหรับส่งออกได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น